top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนPhitsanulok Bettagroup

วัดสรศักดิ์


ที่ตั้ง ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมือง ด้านทิศเหนือของวัดมหาธาตุ

ประวัติ

ได้พบศิลาจารึกที่วัดสรศักดิ์ เป็นศิลาจารึกรูปเสมาหิน จารึกเมื่อพุทธศักราช 1960 กล่าวถึง ประวัติวัดสรศักดิ์ว่า นายอินสรศักดิ์ขอที่ดินสร้างวัดในพุทธศาสนา ซึ่งข้อความในศิลาจารึกวัดสรศักดิ์นี้ยังได้กล่าวถึง วัดเชตุพนและวัดตระกวนอีกด้วย

ดังข้อความสำคัญที่ปรากฏในศิลาจารึกวัดสรศักดิ์ต่อไปนี้

“จึงท่านผู้หนึ่งชื่อนายอินทรสรศักดิ์ มีศรัทธาในพุทธศาสนา จึงขอที่อันอยู่นั้น หนขื่อได้สี่สิบห้าวา หนแปได้สามสิบเก้าวานี้แก่พ่อเจ้า ธ ออกญาธรรมราชาองค์ทรงไตรปิฎกนั้น ว่าจะสร้างอารามถวายพระราชกุศลแก่พ่อเจ้า ธ จึงพ่ออยู่หัวเจ้า ธ ให้อนุญาตแก่นาย อินทรสร-ศักดิ์ นั้น ท่านก็มาปราบให้ราบงามดีไซร้ ”

จากจารึกวัดสรศักดิ์ยังทำให้ทราบว่าได้มีการฉลองพระอารามซึ่งมีมหาเจดีย์ช้างรอบวิหารปิดทอง และยังมีข้อความอีกตอนหนึ่งกล่าวถึงการขอที่ดินจำนวนมากเพื่อสร้างวัดความว่า

“นายสรศักดิ์ขอป่าสร้างเป็นนาแก่พ่ออยู่หัวเจ้า ในตำบลบ้านสุกพอมน้อย ท่านมีพระศาสน์ธว่าให้ชักป่าให้บรรจบนานั้นให้เป็นพันไร่ไว้กับอาราม อยู่มาพระมหาเถรธแต่งนาไว้กับมหาเจดีย์ 40 บ้าน (ดีไว้) นากับพระวิหาร 140 อยู่บ้านไผ่ล้อมและบ้านหอดนาจังหัน อยู่บ้านสุกพอมน้อย 200 บ้านวังดัด 20 บ้านป่าขาม 20 บ้านตาลโจะ 20 บ้านหนองบัวหลวง 40 นากับหอ พระอยู่หนองยางน้อย 70 หัวฝายสองวาย 25 นาสงฆ์ 350 อยู่ไร่ซ้อน 400 บ้านละกันน้อย 80 ละกันหลวง 80 บ้านดง 20 เจ้าสามเถรห้าสัด เจ้าภิกษุสิบสัด อยู่มานายสรศักดิ์ขออากรได้สี่ที่ หมู่วัดยายัพ 2 ที่ ที่หนึ่งกับพระเจ้าหย่อนตีนที่หนึ่งกับพระเจ้าจงกรมในจารึก 2 ที่อยู่หมู่อีศานกับวิหารทั้งมวลเป็นเบี้ย 40000”

รูปแบบสถาปัตยกรรม

วัดสรศักดิ์ พบศิลาจารึกระบุว่าสร้างในปี พ.ศ. 1955 ตัววัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา ตั้งบนฐาน ขนาดฐานยาวด้านละ 9 เมตร บริเวณฐานล้อมรอบด้วยช่างก่ออิฐปั้นปูนจำนวน 24 เชือก ลักษณะช่างโผล่มาเฉพาะส่วนหัวและสองขาหน้าบริเวณบานเจดีย์ ทางด้านหน้าหรือทางทิศตะวันออกของเจดีย์ประธานในแนวแกนเดียวกัน มีวิหารขนาด 5 ห้อง 1 หลัง ก่อด้วยอิฐ ฐานกว้าง 10 เมตร ยาว 17 เมตร เสาวิหารแปลกกว่าที่อื่นๆ คือ ใช้หินทรายโกลนเป็นท่อนๆ ต่อกันเป็นเสา

เจดีย์ประธานในปัจจุบัน เป็นเจดีย์ทรงกลมฐานสี่เหลี่ยมล้อมรอบด้วยช้างนั้น เป็นการสร้างขึ้นมาใหม่เมื่อครั้งบรูณะโดยกรมศิลปากร แต่เป็นเพียงกองดินเท่านั้น ในการบรูณะเจดีย์นั้นได้สร้างขึ้นมาใหม่จากจารึกวัดสรศักดิ์ที่กล่าวถึงเจดีย์มีช้างล้อม ดังนั้นสถาปัตยกรรมหลังนี้ไม่สามารถนำมาใช้ในการศึกษาเรื่องรูปแบบไม่ได้

จากการขุดแต่งโบราณสถานโดยกรมศิลปากร วัดนี้พบโบราณวัตถุที่สำคัญ ประกอก ด้วย จารึกเสมา (จารึกหลักที่ 9 จารึกวัดสรศักดิ์) หัวสิงห์สังคโลก


ดู 283 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด
bottom of page